อมรรัตน์

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

เพลง...คืนนี้ฝนตก

ปลาดิบปลอม

ช็อกโกแล็ตปลอม

หมูสามชั้นปลอม เนื้อปลอม

บาร์บีคิว

ฉลาดล้ำโลก...อาหารตกพื้น

อาหารแคลอรี่สูง

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (new product development)

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (new product development) 


New product หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
          1. Innovation หมายถึง ผลิตภัณฑ์นวตกรรมใหม่ ที่ไม่เคยมีมาก่อนในตลาด 
          2. Modified หมายถึง ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงใหม่ โดยการปรับเปลี่ยน ดัดแปลงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้มีความแปลกใหม่มากขึ้น
          3. Me-too หมายถึง ผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบ โดยการลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับบริษัท แต่เก่าในตลาด

กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (new product development process) 

กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ แบ่งออกเป็น 8 ขั้นตอน
          1. การสร้างแนวความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ (idea generation)
          ในขั้นนี้เป็นการสร้างแนวความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยแหล่งข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่นั้น แบ่งออกเป็น 2 แหล่งด้วยกัน คือ 
               1) แหล่งภายในองค์กร ได้แก่
                     - พนักงานขาย (salespersons) ถือเป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้บริโภค และทราบถึงความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด
                     - ฝ่ายวิจัยและพัฒนา (R&D specialists) เป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ
                     - ผู้บริหารระดับสูง (top management) เป็นบุคคลที่ทราบถึงจุดอ่อน จุดแข็งของบริษัท จึงเป็นเหมือนผู้กำหนดทิศทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ 
               2) แหล่งภายนอกองค์กร ได้แก่
                     - ลูกค้า (customers) ถือเป็นแหล่งข้อมูลที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่บริษัทจะเสนอขายนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก
                     - สมาชิกในช่องทางการจัดจำหน่าย (channel members) เป็นอีกแหล่งข้อมูลหนึ่งที่ทราบถึงความต้องการของลูกค้า เช่น พ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก ตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น
                     - คู่แข่งขัน (competitors) การเคลื่อนไหวทางการแข่งขัน รวมถึงกลยุทธ์ของคู่แข่งก็เป็นอีกแหล่งข้อมูลหนึ่งที่ช่วยบริษัทในการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่

          2. การประเมินและคัดเลือกแนวความคิด (idea screening)
          หลังจากได้แนวความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่แล้ว ก็จะต้องมีการนำแนวความคิดเหล่านั้นมาทำการประเมินถึงความเป็นไปได้ และคัดเลือกแนวความคิดที่ดีและเหมาะสมที่สุด มาทำการพัฒนาและทดสอบแนวความคิดต่อไป 

          3. การพัฒนาและทดสอบแนวความคิด (concept development and testing)
          เมื่อได้แนวความคิดที่ดีและเหมาะสมที่สุดจากขั้นตอนที่สองแล้ว ขั้นต่อไปเป็นการนำแนวความคิดที่ผ่านการคัดเลือกแล้วนั้นมาพัฒนาให้มีความชัดเจนมากขึ้น และนำไปทดสอบกับกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย เพื่อวัดความรู้สึกและการยอมรับในผลิตภัณฑ์ตัวใหม่

          4. การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด (marketing strategy development)
          ในขั้นนี้เป็นการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด ได้แก่ การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายทางการตลาด การทำ STP marketing (การแบ่งส่วนตลาด การเลือกตลาดเป้าหมาย และการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์) และการออกแบบกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix : 4 P's)

          5. การวิเคราะห์สภาพทางธุรกิจ (business analysis)
          เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์และความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ในการนำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่าย เช่น การคาดคะเนถึงความต้องการซื้อ ต้นทุนและผลกำไรที่จะได้รับ เป็นต้น

          6. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (product development)
          เมื่อแนวความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ทั้ง 5 ขั้นมาแล้ว ในขั้นนี้จะเป็นการพัฒนาแนวความคิดให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา

          7. การทดสอบตลาด (market testing)
          ก่อนที่จะนำผลิตภัณฑ์ออกวางจำหน่าย ควรมีการทดสอบตลาดก่อน โดยอาจจะทำในรูปของการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในขอบเขตที่จำกัด หรือให้ผู้บริโภคทำการทดลองใช้หรือบริโภคผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเป็นการวัดการยอมรับของลูกค้าเป้าหมาย ทำให้ทราบถึงจุดดี จุดด้อยของผลิตภัณฑ์ เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น และตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด

          8. การดำเนินธุรกิจ (commercialization)
          เมื่อผลิตภัณฑ์ได้ผ่านการทดสอบตลาดแล้ว ในขั้นสุดท้ายก็จะเป็นการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกวางจำหน่ายจริงตามแผนการตลาดที่ได้วางแผนเอาไว้ ขั้นนี้จึงเป็นขั้นแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ (introduction stage) ของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle--PLC)

การบรรจุภัณฑ์

การบรรจุภัณฑ์ (packaging)

          การบรรจุภัณฑ์ คือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ และการผลิตสิ่งบรรจุหรือห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ เพื่อ
                   - ความปลอดภัยและประโยชน์ใช้สอย
                   - เป็นเครื่องมือในการกำหนดโปรแกรมการตลาด
                   - เพิ่มโอกาสในการสร้างกำไร

ลักษณะของการบรรจุภัณฑ์ 
          1. บรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่ง (primary packaging) หมายถึง บรรจุภัณฑ์ที่มาห่อหุ้มตัวสินค้า เพื่อป้องกันรักษาไม่ให้ตัวสินค้าได้รับความเสียหาย หรือเพื่อความสะดวกในการนำไปใช้งาน ตัวอย่างเช่น หลอดยาสีฟัน
          2. บรรจุภัณฑ์ขั้นที่สอง (secondary packaging) หมายถึง บรรจุภัณฑ์ที่มาห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวสินค้าได้รับความเสียหาย อีกทั้งยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้า ช่วยในการขายสินค้าโดยการดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น กล่องยาสีฟัน 
          3. บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (shipping packaging) หมายถึง บรรจุภัณฑ์ที่ทำหน้าที่ในการเก็บรักษาและขนส่งสินค้า ตัวอย่างเช่น ลัง ตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น

หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์
                   - สะดวกในการนำไปใช้ และเก็บรักษา
                   - ช่วยรักษาคุณภาพของสินค้า
                   - มีความสวยงาม โดดเด่น
                   - สอดคล้องกับตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ (product positioning)
                   - ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

ป้ายฉลาก (label) ป้ายฉลากเป็นส่วนหนึ่งที่มาควบคู่กับบรรจุภัณฑ์ โดยเป็นส่วนที่ให้ข้อมูล รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้า แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
          1. ป้ายฉลากแสดงตราสินค้า (brand label) ตัวอย่างเช่น น้ำมันพืชตราองุ่น
          2. ป้ายฉลากแสดงคุณภาพของสินค้า (grade label) ตัวอย่างเช่น น้ำมันพืชตราองุ่น ไม่เป็นไข น้ำปลาแท้ตราปลาหมึก เป็นต้น
          3. ป้ายฉลากแสดงรายละเอียดของสินค้า (descriptive label) ตัวอย่างเช่น วิธีการใช้ ส่วนประกอบ สถานที่ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต/หมดอายุ เป็นต้น 

กลยุทธ์ป้ายฉลาก (label strategy)
                   - ข้อความเด่นชัด กะทัดรัด เข้าใจง่าย
                   - ให้รายละเอียดที่สำคัญแก่ลูกค้าครบถ้วน
                   - ข้อมูลที่ปรากฏเป็นข้อเท็จจริง สามารถพิสูจน์ได้

          วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle--PLC) แสดงถึงการเจริญเติบโตของยอดขายและกำไรในผลิตภัณฑ์ของบริษัท โดย PLC จะเป็นตัวที่ช่วยในการวางแผนการลงทุนทางการตลาด และกำหนดผลกำไรที่คาดหวัง แบ่งออกเป็น 4 ขั้นด้วยกัน
          1. ขั้นแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ (introduction stage) มีลักษณะสำคัญดังนี้ 
                   - ต้นทุนสูง
                   - ยอดขายและกำไรต่ำ
                   - การจัดจำหน่ายมีขอบเขตจำกัด
                   - เน้นการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า และกระตุ้นให้เกิดการทดลองใช้

          2. ขั้นเจริญเติบโต (growth stage) มีลักษณะสำคัญดังนี้ 
                   - ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
                   - กำไรสูงขึ้น
                   - เริ่มมีคู่แข่งเข้าสู่ตลาดมากขึ้น
                   - มีผลิตภัณฑ์ให้เลือกมากขึ้น
                   - ราคาเริ่มลดลงหรือคงที่
                   - มีคนกลางที่รับสินค้าไปจำหน่ายมากขึ้น
                   - มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมตราสินค้าของบริษัท

          3. ขั้นเจริญเติบโตเต็มที่ (maturity stage) มีลักษณะสำคัญดังนี้ 
                   - ยอดขายเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง
                   - กำไรเริ่มลดลง
                   - การแข่งขันรุนแรงมากขึ้น
                   - ต้องเริ่มมีการปรับปรุงหรือออกผลิตภัณฑ์ใหม่
                   - เน้นการตั้งราคาให้แตกต่างจากคู่แข่งขัน
                   - มีคนกลางมากขึ้น
                   - เน้นการส่งเสริมการตลาดเพื่อต่อสู้กับคู่แข่ง

          4. ขั้นตกต่ำ (decline stage) มีลักษณะสำคัญดังนี้
                   - ยอดขายและกำไรลดลง
                   - คู่แข่งขันมีจำนวนลดลง
                   - รูปแบบผลิตภัณฑ์ลดลง
                   - ช่องทางการจำหน่ายลดน้อยลง
                   - ใช้การส่งเสริมการตลาดน้อยลง
                   - ต้องมีการนำผลิตภัณฑ์ออกจากตลาด และมองหาตลาดใหม่

ส่วนประสมผลิตภัณฑ์

ส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (product mix / product assortment)

     Product mix (ส่วนประสมผลิตภัณฑ์) ประกอบด้วยกลุ่มของสายผลิตภัณฑ์และรายการผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ที่ผู้ขายเสนอขายแก่ตลาด

     Product line (สายผลิตภัณฑ์) เป็นการจัดกลุ่มของผลิตภัณฑ์ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด คือ
                    - มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
                    - มีการใช้งานคล้ายคลึงกัน
                    - จำหน่ายให้กับลูกค้ากลุ่มเดียวกัน
                    - มีช่องทางการจำหน่ายเดียวกัน
                    - มีราคาใกล้เคียงกัน

     Product item (รายการผลิตภัณฑ์) หมายถึง ลักษณะหน่วยที่แตกต่างกันภายในตราสินค้า หรือสายผลิตภัณฑ์เดียวกัน ในด้านขนาด ราคา สี กลิ่น รูปร่าง หรือคุณสมบัติอื่น ๆ

     Product mix decision (การตัดสินใจในส่วนประสมผลิตภัณฑ์) จะต้องมีการตัดสินใจในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
          1. ความกว้างของส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (The width of product mix) หมายถึง จำนวนสายผลิตภัณฑ์ที่บริษัทเสนอขาย 
          2. ความลึกของส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (The depth of product mix) หมายถึง จำนวนรายการผลิตภัณฑ์ที่บริษัทเสนอขาย ในแต่ละสายผลิตภัณฑ์ 
          3. ความยาวของส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (The length of product mix) หมายถึง จำนวนรายการผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่บริษัทมีอยู่ 
          4. ความสอดคล้องของส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (The consistency of product mix) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างสายผลิตภัณฑ์ ในด้านการใช้ครั้งสุดท้าย การผลิต การจำหน่าย และอื่น ๆ 

     ตราสินค้าหรือยี่ห้อ (brand) หมายถึง ชื่อ คำ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือการออกแบบ หรือการประสมประสานสิ่งดังกล่าวเข้าด้วยกัน เพื่อระบุถึงผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือบริการหนึ่ง ๆ

     Brand name (ชื่อตราสินค้า) ประกอบด้วยคำ ตัวอักษร และ/หรือตัวเลข ที่สามารถอ่านออกเสียงได้

     Brand mark (เครื่องหมายตราสินค้า) เป็นส่วนหนึ่งของตราสินค้า ที่อยู่ในรูปสัญลักษณ์ การออกแบบ สีสัน หรือตัวอักษร ที่สามารถมองเห็น แต่ไม่สามารถอ่านออกเสียงได้

     Trade mark (เครื่องหมายการค้า) หมายถึง ตราสินค้าที่ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์นำมาใช้ และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย โดยจะมีสัญลักษณ์ ?

     Logo (โลโก้) เป็นส่วนหนึ่งของตราสินค้า ที่ประกอบไปด้วย brand name, brand mark, or trademark หรือทั้งหมดมารวมกัน

ประเภทของตราสินค้า (types of brand) ตราสินค้าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
          1. ตราสินค้าของผู้ผลิต (manufacturer brands)
               1.1 Individual brand หมายถึง การตั้งชื่อตราสินค้าให้แตกต่างกันออกไป สำหรับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด
               ตัวอย่าง บริษัท Uni-Lever ตั้งชื่อตราสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดแตกต่างกันออกไป เช่น 
                       สบู่ : ลักซ์, โดฟ
                       ยาสระผม : ซันซิล, คลินิก เคลียร์, โดฟ, ออแกนิคส์
                       ผงซักฟอก : บรีส, โอโม
                       เครื่องสำอาง : พอนด์ส

               1.2 Family brand หมายถึง การใช้ชื่อตราสินค้ารวม สำหรับผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่บริษัทผลิตขึ้น
               ตัวอย่าง บริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า Canon ไม่ว่าจะผลิตสินค้าประเภทใดก็จะใช้ชื่อตราที่เหมือนกัน คือ Canon เช่น กล้องถ่ายรูป พรินเตอร์ เครื่องคิดเลข เป็นต้น 

               1.3 Separate family names for product หมายถึง การใช้ตรารวมแยกกันสำหรับผลิตภัณฑ์แต่ละกลุ่ม
               ตัวอย่าง เช่น บริษัท Johnson & Johnson
                       ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก : Johnson & Johnson
                       ผ้าอนามัย : Modes
                       แผ่นอนามัย : Carefree
                       แป้งเย็น : Shower to shower

               1.4 Company trade name combined with individual product name หมายถึง การใช้ชื่อบริษัทร่วมกับชื่อเฉพาะของผลิตภัณฑ์
               ตัวอย่าง เช่น บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ Honda จะใช้ชื่อบริษัทร่วมกับชื่อเฉพาะสำหรับรถยนต์แต่ละรุ่น เช่น
                       Honda Accord
                       Honda Civic
                       Honda City
                       Honda CRV
                       Honda Jazz
                       Honda Dream, Honda Wave

          2. ตราสินค้าของคนกลาง (middleman's brands or private brand) หมายถึง การตั้งชื่อตราสินค้าของคนกลางที่รับสินค้าจากผู้ผลิตไปขายต่อ โดยใช้ชื่อตราของตนเอง หรืออาจจ้างโรงงานผลิตสินค้าให้ แล้วใช้ตราสินค้าของผู้ขาย
               ตัวอย่าง เช่น  Top's supermarket : Top
                              Tesco Lotus : Super save
                              Big C : Leader price 

กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์คืออะไร (What is a product?)

          ผลิตภัณฑ์ หมายถึง สิ่งที่นำเสนอแก่ตลาดเพื่อให้เกิดความสนใจ การซื้อ การใช้ หรือการบริโภคซึ่งสามารถตอบสนองความจำเป็นและความต้องการได้ (Anything that can be offered to a market for attention, acquisition, use, or consumption that might satisfy a want or need)       
   
ระดับหรือองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ (levels of product / product component)

ผลิตภัณฑ์สามารถแบ่งออกเป็น 5 ระดับ หรือ 5 องค์ประกอบด้วยกัน คือ
          1. Core product (ผลิตภัณฑ์หลัก) คือ ประโยชน์พื้นฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการซื้อสินค้านั้นโดยตรง
          2. Tangible or formal product (รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์) คือ ลักษณะทางกายภาพที่ผู้บริโภคสามารถสัมผัสหรือรับรู้ได้ ประกอบด้วย
               2.1 ระดับของคุณภาพ (quality level)
               2.2 รูปร่างลักษณะ (features)
               2.3 การออกแบบ (design)
               2.4 บรรจุภัณฑ์ (packaging)
               2.5 ชื่อตราสินค้า (brand name)
          3. Expected product (ผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง) คือ คุณสมบัติหรือเงื่อนไขที่ผู้ซื้อคาดหวังว่าจะได้รับจากการซื้อสินค้า หรือเป็นข้อตกลงในการซื้อสินค้า
          4. Augmented product (ผลิตภัณฑ์ควบ) คือ ผลประโยชน์เพิ่มเติมที่ผู้ซื้อจะได้รับควบคู่ไปกับการซื้อสินค้านั้น ๆ ตัวอย่างเช่น
               4.1 การให้บริการติดตั้ง (installation)
               4.2 การขนส่ง (transportation)
               4.3 การรับประกัน (insurance)
               4.4 การให้สินเชื่อ (credit) 
          5. Potential product (ศักยภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์) คือ ส่วนของผลิตภัณฑ์ควบที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาไป เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าในอนาคต

ประเภทของผลิตภัณฑ์ (product classification)

ผลิตภัณฑ์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ผลิตภัณฑ์บริโภคและผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดังรายละเอียดต่อไปนี้
          1. ผลิตภัณฑ์บริโภค (consumer product) 
          หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ซื้อโดยผู้บริโภคคนสุดท้าย เพื่อใช้ในการบริโภคส่วนบุคคล แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
               1.1 ผลิตภัณฑ์สะดวกซื้อ (convenience product) มีลักษณะที่สำคัญดังนี้ : 
                       - ซื้อบ่อย
                       - การตัดสินใจซื้อเป็นแบบทันทีทันใด ใช้เวลาในการวางแผนในการซื้อน้อย
                       - มีการเปรียบเทียบคุณสมบัติต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ในแต่ละยี่ห้อน้อย
                       - เป็นสินค้าที่ราคาไม่สูง 
                       - มีการกระจายสินค้าอย่างทั่วถึง 
          ตัวอย่างเช่น สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ข้าวสาร น้ำตาล น้ำปลา เกลือ ผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น
               1.2 ผลิตภัณฑ์เลือกซื้อ (shopping product) มีลักษณะที่สำคัญดังนี้ : 
                       - ซื้อไม่บ่อย
                       - ต้องมีการวางแผนในการซื้อ
                       - มีการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์แต่ละตราสินค้าในด้านต่าง ๆ เช่น ราคา คุณภาพ รูปแบบ 
                       - เป็นสินค้าที่มีราคาค่อนข้างสูง 
                       - มีการกระจายสินค้าแบบเลือกสรร
          ตัวอย่างเช่น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
               1.3 ผลิตภัณฑ์เจาะจงซื้อ (specialty product) มีลักษณะที่สำคัญดังนี้ : 
                       - เป็นตราสินค้าที่มีชื่อเสียง และผู้บริโภคมีความจงรักภักดีต่อตราสินค้านั้น
                       - มีการเปรียบเทียบคุณสมบัติต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ในแต่ละยี่ห้อน้อย
                       - ผู้บริโภคมีความอ่อนไหวต่อราคาน้อย
                       - เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูง high price
                       - มีการกระจายสินค้าแบบเฉพาะเจาะจง คือมีจำหน่ายเพียง 1-2 แห่งในแต่ละตลาด
          ตัวอย่างเช่น รถเบนซ์ นาฬิกาโรเล็กซ์ กางเกงยีนส์ลีวายส์ เครื่องแต่งกายจากต่างประเทศเครื่องประดับราคาแพง เป็นต้น
               1.4 ผลิตภัณฑ์ไม่แสวงซื้อ (unsought product) มีลักษณะที่สำคัญดังนี้ : 
                       - ผู้บริโภคมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์น้อย หรือไม่รู้จักมาก่อน
                       - มีราคาและการกระจายสินค้าที่แตกต่างกันออกไป
          ตัวอย่างเช่น ประกันชีวิต สารานุกรม เป็นต้น

          2. ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (industrial product)
     หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่บุคคลหรือองค์กรซื้อไป เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตหรือในการทำธุรกิจ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
               2.1 วัสดุและชิ้นส่วนประกอบ (materials and parts) แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
                    1) วัตถุดิบ (raw materials) เป็นสินค้าที่เกิดจากธรรมชาติ หรือสินค้าทางการเกษตรซึ่งยังไม่ผ่านการแปรรูป
                    2) วัสดุและชิ้นส่วนประกอบการผลิต (manufactured materials and parts) เป็นส่วนประกอบสำหรับการผลิตสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งผ่านการแปรรูปมาแล้ว
               2.2 สินค้าประเภททุน (capital items) แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
                    1) สิ่งติดตั้ง (installations) ได้แก่ อาคารโรงงาน เครื่องจักรขนาดใหญ่ 
                    2) อุปกรณ์ประกอบ (accessory equipment) ได้แก่ เครื่องมือและอุปกรณ์ในโรงงานที่สามารถเคลื่อนย้ายหรือพกพา อุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น
               2.3 วัสดุสิ้นเปลืองและบริการ (supplies and services) แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
                    1) วัสดุสิ้นเปลือง (supplies) เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการดำเนินงาน หรือใช้ในการซ่อมแซม บำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักรอื่น ๆ ซึ่งมีอายุการใช้งานสั้นใช้แล้วหมดไป เช่น ปากกา ดินสอ กระดาษ กาว ลวดเย็บกระดาษ ตะปู ไม้กวาด น้ำยาทำความสะอาด เป็นต้น
                    2) บริการ (services) ได้แก่ บริการซ่อมแซมและบำรุงรักษา หรือบริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ เช่น บริการรักษาความปลอดภัย บริการทำความสะอาดบริษัทรับทำโฆษณา บริษัทให้คำปรึกษาทางกฎหมาย เป็นต้น 

ทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

ทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์

SWOT

             กลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับองค์กรเพราะองค์กรใช้กลยุทธ์ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของตน โดยกลยุทธ์ของแต่ละองค์กรจะถูกกำหนดตามธรรมชาติและลักษณะขององค์กรนั้น ๆ ทั้งนี้ องค์กรจะกำหนดกลยุทธ์ได้นั้นต้องรู้สถานภาพหรือสภาวะขององค์กรของตนเสียก่อน
             นอกจากนี้ยังต้องมีกระบวนการกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับตนเอง วิธีการและเทคนิคในการวิเคราะห์สภาวะขององค์กรและกระบวนการกำหนดกลยุทธ์มีหลายวิธีด้วยกัน หนึ่งในวิธีการเหล่านี้ คือกระบวนการวิเคราะห์ SWOT ซึ่งเป็นวิธีการที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลาย
             SWOT เป็นคำย่อมาจากคำว่า Strengths, Weaknesses, Opportunities, and Threats โดย
             Strengths คือ จุดแข็ง หมายถึง ความสามารถและสถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นบวก ซึ่งองค์กรนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง การดำเนินงานภายในที่องค์กรทำได้ดี
             Weaknesses คือ จุดอ่อน หมายถึง สถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นลบและด้อยความสามารถ ซึ่งองค์กรไม่สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง การดำเนินงานภายในที่องค์กรทำได้ไม่ดี
             Opportunities คือ โอกาส หมายถึง ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่เอื้ออำนวยให้การทำงานขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการขององค์กร
             Threats คืออุปสรรค หมายถึง ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่ขัดขวางการทำงานขององค์กรไม่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึงสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นปัญหาต่อองค์กร
             บางครั้งการจำแนกโอกาสและอุปสรรคเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะทั้งสองสิ่งนี้สามารถเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอาจทำให้สถานการณ์ที่เคยเป็นโอกาสกลับกลายเป็นอุปสรรคได้ และในทางกลับกัน อุปสรรคอาจกลับกลายเป็นโอกาสได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้องค์กรมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์แวดล้อม

link ในเวปไซค์ของเรา http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=483.0

BCG matrix

             BCG Matrix คือ โมเดล ที่ใช้วิเคราะห์ด้านการเงินการลงทุนเกี่ยวกับการตลาด โดยการเริ่มต้นของ GE (General Electric) และ Boston Consulting Group (BCG) BCG matrix จะแสดงฐานะหรือความแข็งแกร่งของบริษัทเมื่อเทียบกับตลาดสินค้านั้นๆ โดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณา 2 เกณฑ์ คือ
             1. ส่วนแบ่งตลาดเชิงเปรียบเทียบ (Relative Market Share) เป็นการเปรียบเทียบกับคู่ แข่งว่าส่วนแบ่งตลาดของผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็นกี่เท่าเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่สำคัญ
             2. ความน่าสนใจของตลาด (Market Attractiveness) หรือ อัตราการเติบโตของตลาดสินค้า (Market Growth Rate) คือ อัตราการขยายตัวของตลาดสินค้าทั้งตลาดไม่ใช่ของบริษัท เพราะเกณฑ์ที่ใช้นี้เพื่อต้องการดูว่าตลาดสินค้านั้นๆ มีความน่าสนใจมากน้อยเพียงใด
ผลที่รับจาก BCG Matrix
                • Star ได้แก่ธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดสูง อัตราความเจริญเติบโตสูง ธุรกิจได้กำไรสูงอันเกิดจากตลาดโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้น มักมีเงินสดน้อยหรือขาดแคลนเงินสด
                • Cash Cow เป็นธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดสูง อัตราการเจริญเติบโตต่ำ ธุรกิจได้กำไรสูง และมีเงินสดเหลืออยู่มากเพราะตลาดเจริญเติบโตน้อย และอาจนำเงินสดไปลงทุนในธุรกิจอื่น
                • Question Marks ได้แก่ธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดต่ำในตลาดที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูง ธุรกิจกำไรน้อย ทั้ง ๆ ที่มีโอกาส เพราะมีปัญหาในการดำเนินงาน
                • Dogs ได้แก่ธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดต่ำ อัตราการเจริญเติบโตต่ำ ธุรกิจกำไรน้อย ขีดความสามารถต่ำ

วัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle)

             เมื่อผลิตภัณฑ์ถูกนำออกสู่ตลาด แสดงถึงการเริ่มต้นของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ระยะเวลาที่ผ่านไปจะมียอดขายเพิ่มขึ้นมากบ้าง น้อยบ้าง เป็นการแสดงถึงการเจริญเติบโตของผิลตภัณฑ์นั้น หากผลิตภัณฑ์ได้รับการยอมรับจากตลาดเป็นอย่างดียอดขายจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อผู้ซื้อไม่ต้องการผลิตภัณฑ์นั้น ยอดขายจะตกต่ำลง ในที่สุดผลิตภัณฑ์นั้นก็จะหายไปจากตลาด แต่จะมีผลิตภัณฑ์ใหม่เข้ามาสู่ตลาดแทนผลิตภัณฑ์เก่าที่ล้าสมัยซึ้งผู้ต้องการซื้ออีกต่อไป ผลิตภัณฑ์ใหม่ส่วนหนึ่งอาจได้รับการต้อนรับจากตลาด แต่ผลิตภัณฑ์อีกหลายชนิดไม่สามารถเข้าสู่ตลาดจนลูกค้ายอมรับได้ ดั้งนั้นระยะเวลาที่ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะอยู่ในตลาดจึงไม่เท่ากัน เป็นการแสดงให้เห็นวงจรชีวิตที่สั้นหรือยาวของผลิตภัณฑ์ซึ้งคล้ายกับวงจรชีวิตของคนเรา และจะเกิดวงจรชีวิต์ใหม่ เข้ามาแทนที่วงจรเดิมอย่างนี้ตลอดไปเรื่อย ๆ วงจรใหม่ที่เกิดขึ้นอาจจะมาจากผลิตภัณฑ์ใหม่มีเทคโนโลยีสูงกว่า มีประสิทธิภาพดีกว่า หรือตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

ความหมายและความสำคัญ

             หมายถึง การเติบโตของยอดขายผิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งจะมีลักษณะเป็นวงจรเล่าต่อไปเรื่อย ๆ การศึกษารายละเอียดของวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์จะมีประโยชน์ต่อนักการตลาดและนักธุรกิจ การเรียนรู้ความต้องการของลูกค้าหรทอผู้ซื้อที่มีต่อผลิตภัณฑ์ จากการวิเคราะห์ลักษณะต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ ช่วยให้สามารถวางแผนการตลาด กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด กำหนดส่วนประสมการตลาด (Marketing Mix) ได้ถูกต้องและเหมาะสม

ขั้นตอนของวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Stages of Product Life cycle)

วัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์จะประกอบด้วยวงจร 4 ขั้นตอน คือ

             - ขั้นแนะนำผลิตภัณฑ์ (Product Introduction)

             - ขั้นตลาดเจริญเติบโต (Market Growth)

             - ขั้นตลาดอิ่มตัว (Market Maturity)

             - ขั้นยอดขายตกต่ำ (Sales Decline)

ขั้นแนะนำผลิตภัณฑ์ (Product Introduction)

             ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เริ่มนำออกสู่ตลาดในครั้งแรกยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้ซื้อหรือผู้บริโภค ดังนั้นผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายต้องเสนอ รายละเอียดของสินค้า โดยอาศัยในการส่งเสริมการตลาด (Promotion) เพื่อติดต่อสื่อข่าวกับผู้บริโภคให้ทราบว่ามีสินค้าใหม่ออกสู่ตลาด ภาระค่าใช้จ่ายในการขายของขั้นแนะนำจะสูงผู้ผลิตที่เป็นผู้บุกเบิกตลาด (Pioneer) อีกทั้งอยู่ในภาวะที่มีการเสี่ยงภัยสูงมาก หากการตื่นตัวยอมรับผลิตภัณฑ์ใหม่มีน้อย ความต้องการสินค้าไม่แน่นอน ผู้บุกเบิกตลาดใหม่ต้องประสบกับการลงทุนสูงในการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขาย ขณะที่รายได้อาจยังไม่มีหรือมีน้อยมาก ฉะนั้นกิจการที่นำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ขั้นแนะนำ ในช่วงแรกจะประสบภาวะการขาดทุน
             ดังนั้นการจัดกลยุทธ์การตลาดในขั้นแนะนำผลิตภัณฑ์จะเน้นเรื่องการส่งเสริมการตลาดและการสื่อสารให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย การส่งเสริมการตลาดจะเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า ผ่านสื่อโฆษณาประเภทต่าง ๆ ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ รวมทั้งการใช้พนักงานขายในการกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัว และ เกิดการยอมรับในผลิตภัณฑ์ใหม่ เนื่องจากผู้ซื้อส่วนใหญ่จะซื้อผลิตภัณฑ์ที่ตนเองคุ้นเคย รู้จักสินค้าดีอยู่แล้ว ดังนั้นจะต้องใช้สื่อการส่งเสริมการขาย เช่น การแจกตัวอย่างหรือการสาธิต ช่วยให้ผู้ซื้อได้มีโอกาสทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ จึงจะเกิดการยอมรับในตัวผลิตภัณฑ์ติดตามมาได้

ขั้นตลาดเจริญเติบโต (Market Growth)

             การยอมรับในตัวผลิตภัณฑ์ จะส่งผลให้ยอดขายเพิ่มสูงขึ้นและเพิ่มในอัตราที่เร็ว ดังนั้นในช่วงต้นของขั้นเติบโต ผู้บุกเบิกตลาดจะได้รับผลประโยชน์จากกำไรที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากไม่มีคู่แข่งในตลาด ถือเป็นรางวัลที่ผู้บุกเบิกจะได้รับ แต่มักจะมีโอกาสได้ไม่นานเพราะ คู่แข่งขันทั้งหลายจะเริ่มได้กลิ่นกำไรและทยอยกันเข้ามาขอส่วนแบ่งตลาด จากหนึ่งเป็นสองและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ช่วงเวลาที่คู่แข่งขันเข้ามาสู่ตลาดจะเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับอัตราการเจริญเติบโตของความต้องการในผลิตภัณฑ์นั้น ส่วนอัตรากำไรมากหรือน้อยจะเป็นสิ่งจูงใจให้คู่แข่งขันเข้ามามากหรือน้อยรายเช่นกัน อย่างไรก็ตามการแข่งขันในขั้นตลาดเจริญเติบโตจะยังเป็นลักษณะการแข่งขันน้อยราย อาจเพียง 2 – 3ราย
             เมื่อเริ่มมีคู่แข่งขันเกิดขึ้น ผู้บุกเบิกจะต้องเปลี่ยนวิธีการในการส่งเสริมการตลาดโดย ไม่จำเป็นที่จะใช้ตัวอย่างหรือสาธิตอีกต่อไป แต่ต้องหันไปเน้นการสร้างความชอบตราสินค้าให้มากขึ้น (Brand preferences) การโฆษณาจะหันไปเน้นให้ลูกค้าเจาะจงเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของเรา แทนที่จะซื้อของคู่แข่งขัน
             การที่ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความต้องการของผู้ซื้อแสดงอย่างชัดแจ้งว่า เป็นแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทำให้มีการกระจายสินค้า การจัดจำหน่ายให้กว้างขวางมากขึเน การสินค้าไปให้กับสมาชิกต่างๆ ในช่องทางการจำหน่าย ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่แสดงแนวโน้มของตลาดที่ดี โดยเฉพาะในกรณีสินค้าอุปโภค

ขั้นตลาดอิ่มตัว (Market Maturity)

             วงจรขั้นอิ่มตัวเกิดจากผู้ซื้อส่วนใหญ่ได้ซื้อผลิตภัณฑ์มาบริโภคกันทั่วหน้า ประกอบกับมีคู่แข่งขันมาเสนอขายผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นส่วนส่งเสริมให้ลูกค้าต่าง ๆ มีโอกาสซื้อผลิตภัณฑ์เร็วขึ้น คู่แข่งขันที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เกิดจากแรงจูงใจด้านกำไรที่ดี จะทำให้ส่วนแบ่งของตลาดที่ผู้ผลิตแต่ละรายได้รับลดน้อยลง ประกอบกับผู้ซื้อเริ่มให้ความสนใจน้อยลง ยอดขายจะไม่เพิ่มขึ้นมากเหมือนขั้นตลาดเจริญเติบโต และในที่สุดอัตราการเพิ่มจะหยุดนิ่ง หากไม่มีการแก้ไข ความต้องการ ในตลาดสินค้านี้จะตกต่ำลง อาจเพราะลูกค้ามีสินค้านี้แล้ว ลูกค้าเบื่อหน่ายแล้ว หรือต้องการแสวงหาสินค้าใหม่หรืออาจเพราะผู้ผลิตได้ แนวคิดผลิตภัณฑ์ใหม่
             การที่มีคู่แข่งขันเข้ามาในตลาดมากทำให้ผู้ผลิตทุกรายต้องพยายามแย่งส่วนแบ่งตลาด ให้มากที่สุด จึงต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ให้แปลกใหม่ด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับตัวผลิตภัณฑ์ (Product differentiation)

ขั้นยอดขายตกต่ำ (Sale Decline)

             เมื่อผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นถึงจุดอิ่มตัว หากไม่ได้รับการแก้ไข้ ผลิตภัณฑ์นั้นจะเริ่มมียอดขายลดลงเรื่อย ๆ อาจเนื่องมาจากผลิตภัณฑ์ใหม่กว่ามาแทนที่ในตลาด ลูกค้าจึงหันไปซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่แทน การที่ยอดขายลดลง จะทำให้ส่วนแบ่งตลาดของผู้จำหน่ายแต่ละรายลดลงไปด้วย ดังนั้น การขาดทุนจะเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ผู้ผลิตที่มีฐานะการเงินมั่นคง มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่าอาจจะอยู่ในตลาดเพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ต่อไป แต่ผู้ผลิตรายเล็ก ๆ ที่มีทุนน้อยจะค่อย ๆ ถอนตัวออกจากตลาดเพราะไม่สามารถรับภาระการขาดทุนได้

วิเคราะห์

วิเคราะห์ SWOT

จุดแข็ง

             1. บริษัทมีชื่อเสียงและภาพพจน์ที่ดีทั้งยังเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค
             2. บริษัทมีความเข้มแข็งทางด้านธุรกิจสามารถเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็ว
             3. บริษัทผลิตสินค้าอย่างมีคุณภาพตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

จุดอ่อน

             1. การพัฒนาตัวยาใหม่ ๆ เมื่อเทียบกับคู่แข่งแล้ว บริษัทไม่ได้ออกตัวยาใหม่เลย
             2. การปรับขึ้นราคาเพื่อให้สอดคล้องกับราคาต้นทุนทำได้ลำบาก
             3. เน้นการทำการตลาดเชิงรับ

โอกาส

             1. บริษัทจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ดังนั้นจึงมีผู้บริโภคมั่นใจในตัวสินค้า
             2. ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น ซึ่งบริษัทเพื่อสุขภาพสามารถตอบสนองให้แก่ผู้บริโภคได้

อุปสรรค

             1. คู่แข่งเริ่มทำการตลาดเชิงรุกมากขึ้น บริษัทการทำการตลาดเชิงรับ
             2. ความสะดวกในการติดต่อลูกค้าน้อยกว่าคู่แข่ง
             3. สินค้ามีราคามากกว่าคู่แข่ง 

BCG matrix

             บริษัทเพื่อสุขภาพจำกัดอยู่ในช่วง Dogs ได้แก่ธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดต่ำ อัตราการเจริญเติบโตต่ำ ธุรกิจกำไรน้อย ขีดความสามารถต่ำ

วัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle)

             บริษัทเพื่อสุขภาพจำกัดอยู่ในช่วงขั้นยอดขายตกต่ำ (Sale Decline)

วิเคาะห์บริษัทเพื่อสุขภาพจำกัด

             จากประเด็นบริษัทเพื่อสุขภาพจำกัด เป็นธุรกิจที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ มาตลอด 18 ปี และอัตราการขยายตัวทางธุรกิจอย่างรวดเร็วมาก บริษัทเพื่อสุขภาพจำกัดกำลังอยู่ในช่วง Star หรือ ขั้นตลาดเจริญเติบโต แต่พอปี 2554 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มจากการที่ร้านซูเปอร์มาเก็ตในเมืองได้เริ่มขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ออแกนิกในราคาที่ต่ำกว่าสินค้าบริษัทเพื่อสุขภาพจำกัด ทำให้ยอดขายสินค้าลดลงเกิดส่วนแบ่งทางการตลาดมากขึ้น บริษัทเพื่อสุขภาพจำกัดกำลังอยู่ในช่วง Question Marks หรือ ขั้นตลาดอิ่มตัว ต่อมาในปี 2549 ภาวะการขาดทุนยังเพิ่มมากขึ้นจนบริษัทจำเป็นต้องปิดสาขาที่สอง และทิศทางยังคงแย่ลงอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปี 2553 บริษัทเพื่อสุขภาพจำกัดกำลังอยู่ในช่วง Dog หรือ ขั้นยอดขายตกต่ำ จากประเด็นดังกล่าวลูกคนสุดท้องควรให้คำแนะนำแต่บริษัทดังต่อไปนี้

กลยุทธ์ที่ใช้

             1. การเร่งระบบสินค้าออกจากตลาด เมื่อแนวโน้มสินค้ากำลังจะไม่เป็นที่ต้องการตลาดผู้ผลิตจะต้องใช้การลดราคามาก ๆ เพื่อระบายสินค้าออกไป

             2. การเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากตลาด การเลิกใช้สินค้าของลูกค้าไม่ได้เกิดขึ้นในทันทีทันใด ดังนั้นผู้ผลิตยังคงจำหน่ายสินค้าให้แก่กลุ่มลูกค้าที่เข้ามาทีหลังได้

             3. เน้นลูกค้าที่อยู่ระดับบนโดยพัฒนาสินค้าให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค

             4. สร้างช่องทางการตลาดให้มากขึ้น โดยขายสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่

             5. การออกจากตลาด หากผู้ผลิตเห็นค่าการจำหน่ายต่อนำมาซึ่งการขาดทุนที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ควรตัดสินใจเลิกผลิตสินค้าชนิดนั้น แล้วหาทางพัฒนาสินค้าใหม่ขึ้นมาทดแทน

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New product development)
 New product หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
  1. Innovation
     หมายถึง ผลิตภัณฑ์นวตกรรมใหม่ ที่ไม่เคยมีมาก่อนในตลาด
  2. Modified
    หมายถึง ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงใหม่ โดยการปรับเปลี่ยน ดัดแปลงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้มีความ
แปลกใหม่มากขึ้น
  3. Me-too
    หมายถึง ผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบ โดยการลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน เป็นผลิตภัณฑ์
ใหม่สำหรับบริษัท แต่เก่าในตลาด
กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New product development process)
 กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ แบ่งออกเป็น 8 ขั้นตอน ดังแสดงในรูปที่ 6-2
รูปที่ 6-2 แสดงขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
 1. การสร้างแนวความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ (Idea generation)
        ในขั้นนี้เป็นการสร้างแนวความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยแหล่งข้อมูลที่จะนำมาใช้ใน
การคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่นั้น แบ่งออกเป็น 2 แหล่งด้วยกัน คือ
  (1) แหล่งภายในองค์กร ได้แก่
   พนักงานขาย (Salespersons) ถือเป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้บริโภค และทราบถึงความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด ฝ่ายวิจัยและพัฒนา (R&D Specialists) เป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับการพัฒนาเทคโนโลยี
ใหม่ๆ
ผู้บริหารระดับสูง (Top Management) เป็นบุคคลที่ทราบถึงจุดอ่อน จุดแข็งของบริษัท จึงเป็นเหมือนผู้กำหนดทิศทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
  (2) แหล่งภายนอกองค์กร ได้แก่
   ลูกค้า (Customers) ถือเป็นแหล่งข้อมูลที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากผลิตภัณฑ์
ที่บริษัทจะเสนอขายนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก
สมาชิกในช่องทางการจัดจำหน่าย (Channel Members) เป็นอีกแหล่งข้อมูล
หนึ่งที่ทราบถึงความต้องการของลูกค้า เช่น พ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก ตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น
คู่แข่งขัน (Competitors) การเคลื่อนไหวทางการแข่งขัน รวมถึงกลยุทธ์ของคู่แข่ง
ก็เป็นอีกแหล่งข้อมูลหนึ่งที่ช่วยบริษัทในการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่
 2. การประเมินและคัดเลือกแนวความคิด (Idea screening)
     หลังจากได้แนวความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่แล้ว ก็จะต้องมีการนำแนวความคิดเหล่านั้นมา
ทำการประเมินถึงความเป็นไปได้ และคัดเลือกแนวความคิดที่ดีและเหมาะสมที่สุด มาทำการพัฒนา
และทดสอบแนวความคิดต่อไป
 3. การพัฒนาและทดสอบแนวความคิด (Concept development and testing)
      เมื่อได้แนวความคิดที่ดีและเหมาะสมที่สุดจากขั้นตอนที่สองแล้ว ขั้นต่อไปเป็นการนำแนวความคิด
ที่ผ่านการคัดเลือกแล้วนั้นมาพัฒนาให้มีความชัดเจนมากขึ้น และนำไปทดสอบกับกลุ่มผู้บริโภค
เป้าหมาย เพื่อวัดความรู้สึกและการยอมรับในผลิตภัณฑ์ตัวใหม่
  4. การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด (Marketing strategy development)
       ในขั้นนี้เป็นการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด ได้แก่ การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ทางการตลาด การทำ STP Marketing (การแบ่งส่วนตลาด การเลือกตลาดเป้าหมาย และการกำหนด
ตำแหน่งผลิตภัณฑ์) และการออกแบบกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix : 4 P's)
 5. การวิเคราะห์สภาพทางธุรกิจ (Business analysis)
เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์และความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ในการนำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่าย เช่น การคาดคะเนถึงความต้องการซื้อ ต้นทุนและผลกำไรที่จะได้รับ เป็นต้น
 6. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product development)
      เมื่อแนวความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ผ่านขั้นตอนต่างๆ ทั้ง 5 ขั้นมาแล้ว ในขั้นนี้จะ
เป็นการพัฒนาแนวความคิดให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา
 7. การทดสอบตลาด (Market testing)
      ก่อนที่จะนำผลิตภัณฑ์ออกวางจำหน่าย ควรมีการทดสอบตลาดก่อน โดยอาจจะทำในรูปของการ
วางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในขอบเขตที่จำกัด หรือให้ผู้บริโภคทำการทดลองใช้หรือบริโภคผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเป็นการวัดการยอมรับของลูกค้าเป้าหมาย ทำให้ทราบถึงจุดดี จุดด้อยของผลิตภัณฑ์ เพื่อนำไป
ปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น และตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด
 8. การดำเนินธุรกิจ (Commercialization)
เมื่อผลิตภัณฑ์ได้ผ่านการทดสอบตลาดแล้ว ในขั้นสุดท้ายก็จะเป็นการนำผลิตภัณฑ์ใหม่
ออกวางจำหน่ายจริงตามแผนการตลาดที่ได้วางแผนเอาไว้ ขั้นนี้จึงเป็นขั้นแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ (Introduction Stage) ของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product life Cycle : PLC)

น้ำตาล

ความลับของรูเนยแข็ง

เรื่องของหมากฝรั่ง

ขนมหวานที่มีแคลอรี่มากที่สุด

เตรียมพร้อมสมองกับเปปทีน

การถ่ายทอดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหร

มะยมเชื่อม

การถนอมอาหาร (หมูฝอย)

ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

การทำแห้งด้วยลมร้อน

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

การถนอมอาหาร (เนื้อเค็ม)

วิธีทำไข่เยี่ยวม้า

การแปรรูปเห็ด (น้ำยาเห็ด)

การแปรรูปเห็ด

มะละกอสามรส

การถนอมอาหาร(มะละกอ)

การวางแผนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

  การวางแผนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ มีความสำคัญที่สุดในการเริ่มการผลิต และเมื่อได้มีการผลิตสินค้าหรือเสนอบริการแล้วก็จะไปสนใจต่อการปรับปรุงแก้ไขสินค้าบริการต่อไป ซึ่งเป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่มีมาตรฐานที่ดีขึ้น หรือเพราะความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะการเปลี่ยนแปลงในต้นทุนของวัตถุดิบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทำให้ต้องเกี่ยวข้องกับการวางแผนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการพยากรณ์การผลิต แรงกดดันอาจมาจากลูกค้าคู่แข่ง กฎหมาย หรือภายในกิจการเองก็ได้

ความหมายของการวางแผนผลิตภัณฑ์ 

          การสร้างความเชื่อถือให้เกิดในสินค้าจะเป็นสิ่งกระตุ้นอย่างดีให้มีการปรับปรุงคุณภาพในสินค้าความเชื่อถือในสินค้าจะลดลงถ้าพบว่าสินค้านั้นไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามที่บอกไว้ หรือสินค้ามีข้อบกพร่องซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการออกแบบไม่ดี หรือสาเหตุจากฝีมือการผลิตไม่ดีก็ตาม กิจการจะต้องรับผิดชอบทางกฎหมายในสินค้าที่ผลิตออกจำหน่ายรวมถึงความปลอดภัยต่อผู้บริโภคด้วย การวางแผนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับการผลิต การตัดสินใจเกี่ยวกับระบบการผลิต และการออกแบบระบบการผลิต การเลือกใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์และวิธีการดำเนินงาน ตามวัตถุประสงค์ขององค์การนั้น

          คำว่าผลิตภัณฑ์ (product) จะหมายถึงผลิตผลที่ได้จากการดำเนินงาน ซึ่งหมายรวมถึงสินค้าที่มีตัวตนและบริการด้วย
          การตัดสินใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จะเกี่ยวข้องกับการรวบรวมความคิดของสินค้าอย่างเป็นระบบ และเลือกผลิตสินค้าที่ตรงกับจุดมุ่งหมายของกิจการ
          การออกแบบผลิตภัณฑ์จะหมายรวมถึงการปรับปรุงแบบใหม่ๆให้กับผลิตภัณฑ์ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ใหม่และผลิตภัณฑ์เก่าด้วย
          การตัดสินใจเกี่ยวกับระบบ หรือการเลือกระบบการผลิตเกี่ยวกับกรรมวิธีที่จะเปลี่ยนวัตถุดิบต่าง ๆ ให้เป็นผลผลิต

ความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

          การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วในท้องตลาดให้ดียิ่งขึ้น หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีความหลากหลายในรสชาติ รูปแบบ สีสัน ฯลฯ หรือการผลิตผลิตภัณฑ์นวัตกรรม (innovation) เกิดจากความจำเป็น ปัญหา หรือการคาดการณ์ล่วงหน้า ซึ่งความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีสาเหตุมาจาก

          1. วัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์มีช่วงเวลาที่สั้นลง ผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันเกิดและรุ่งเรืองจนกระทั่งเสื่อมความนิยมได้อย่างรวดเร็วกว่าในสมัยก่อน เนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยีในปัจจุบันล้ำหน้าด้วยวิทยาการที่ทันสมัยกว่า การแข่งขันของธุรกิจก็มีมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้วัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์สั้นลง ต้องเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ยอดขายหรือส่วนแบ่งตลาดอยู่ในระดับคงที่ มิฉะนั้นก็จะต้องออกจากธุรกิจนั้นไป บางครั้งธุรกิจต้องใช้วิธี cannibalism ซึ่งเป็นการดับรัศมีผลิตภัณฑ์ที่กำลังผลิตและจำหน่ายอยู่แม้ว่าผลิตภัณฑ์นี้ยังคงทำเงินให้แก่ธุรกิจ ด้วยการผลิตของรุ่นใหม่ที่ดีกว่าด้วยราคาที่แข่งขันได้ในตลาดแล้วลดราคาตัวเก่าลง วัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ มีด้วยกัน 4 ขั้นตอน คือ
                 1.1 ขั้นแนะนำสินค้า (introduction)
          1.2 ขั้นยอดขายเจริญเติบโต (growth)
          1.3 ขั้นยอดขายอิ่มตัว (maturity)
          1.4 ขั้นยอดขายลดลง (decline)

          สินค้าใหม่ที่เพิ่งเริ่มเข้าสู่ตลาดความต้องการในระยะแรก ๆ อาจจะต่ำ มีน้อย เพราะผู้ซื้อยังไม่คุ้นเคยกับสินค้า ราคาสินค้าในช่วงนี้อาจจะต่ำ เมื่อสินค้าเข้าสู่ขั้นยอดขายอิ่มตัว อาจจะต้องมีการพัฒนาสินค้ารูปแบบหรือเพิ่มขนาดใหม่ อาจมีการวิจัยและพัฒนาสินค้าใหม่เข้ามาแทนที่สินค้าเก่าที่จะหายไปเช่นพัฒนาโทรทัศน์สีมาแทนโทรทัศน์ขาวดำ เตารีดไฟฟ้าแทนเตารีดถ่าน เป็นต้น

          2. ความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันรีบเร่งมากขึ้น ต้องอาศัยเครื่องทุ่นแรงมากขึ้นเพื่อประหยัดเวลาในการทำงานบ้านหรือการทำความสะอาด การเลียนแบบวัฒนธรรมของประเทศที่เจริญทำให้เครื่องแต่งกายและข้าวของเครื่องใช้ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตมีรูปแบบที่เปลี่ยนไป เช่นการสวมเสื้อสูทในงานที่เป็นทางการ หรือการสร้างบ้านทรงแบบตะวันตก การอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมนอกจากนั้นความต้องการของลูกค้ายังเปลี่ยนแปลงไปเพราะการติดต่อสื่อสารที่ทั่วถึงกันทุกมุมโลก ข้อมูลสารสนเทศถูกแพร่กระจายในสื่อต่าง ๆ เช่น  Internet ทำให้เกิดการรับรู้และสนใจผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อันจะนำไปสู่การเกิดอุปสงค์ในสินค้าและบริการใหม่นั้น

          3. สภาพเศรษฐกิจ ในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ จะมีผลต่อผลิตภัณฑ์ที่วางขายในท้องตลาดเป็นอย่างมาก เพราะในช่วงเศรษฐกิจดีลูกค้าจะมีกำลังซื้อสูง การเสนอสินค้ารูปแบบทันสมัยสวยงาม หน้าที่การใช้งานครบครันและราคาค่อนข้างสูงจะสามารถทำตลาดได้ไม่ยากแต่ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำลูกค้ามีกำลังซื้อลดลง การเสนอสินค้าที่มีความทนทาน ในการใช้งานที่มีคุณภาพพอสมควรและราคาประหยัด จึงจะสามารถดึงดูดลูกค้าจำนวนมากได้ สภาพเศรษฐกิจมีผลอย่างมากต่อระดับรายได้ของลูกค้า ดังนั้นอัตราดอกเบี้ย อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา อัตราการว่างงาน รายได้ประชาชาติ ดัชนีราคาผู้บริโภค ฯลฯ ล้วนแล้วแต่จะส่งผลกระทบต่อระดับอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะมีผลต่อความจำเป็นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยรักษาระดับส่วนแบ่งตลาดขององค์การธุรกิจนั้นเอาไว้

          4. สภาพแวดล้อม สภาพอวดล้อมที่องค์การควบคุมไม่ได้ เช่น กฎหมาย การเมือง ตีกรอบกำหนดรูปแบบและลักษณะของผลิตภัณฑ์ให้ธุรกิจจำเป็นต้องปฏิบัติตาม เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคหรือกฎหมายสาธารณสุขว่าด้วยอาหารและยา กำหนดส่วนผสมของอาหารและขนม และควบคุมความสะอาดของตัวผลิตภัณฑ์ภายใต้ข้อจำกัดหนึ่ง หรือ กระทรวงพาณิชย์กำหนดขนาดบรรจุของน้ำดื่ม และมาตรฐานราคา เป็นต้น รวมไปถึงมาตรฐานคุณภาพสากลก็มีผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะออกไปสู่ตลาดการค้าระหว่างประเทศด้วย

          ทุกคนในองค์การสามารถมีส่วนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่โดยทั่วไปแล้วการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ จะเป็นหน้าที่ที่ฝ่ายการผลิตและฝ่ายการตลาดจะต้องร่วมมือกันอย่างดี เพื่อผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับตัวผลิตภัณฑ์ขององค์การ ซึ่งการจัดทีมงานแบบ cross function จะช่วงให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่าง ๆ เป็นไปอย่างราบรื่นและสอดคล้องกันมากกว่าการแบ่งงานตามหน้าที่ของแต่ละแผนก นอกจากฝ่ายการตลาดแล้ว ฝ่ายการผลิตยังต้องประสานงานกับฝ่ายวิศวกรรม ฝ่ายออกแบบ ฝ่ายการเงิน และผู้บริหารระดับสูง เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถทำกำไรให้แก่องค์การ

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นเห็ดนางฟ้า

ขั้นตอนการตัดสินใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่

      ในการตัดสินใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่และการออกแบบระบบการผลิตนั้นมีขั้นตอนต่าง ๆ ตามลำดับดังนี้

          1. การค้นหาและริเริ่มความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ ความคิดเกี่ยวกับสินค้าและบริการใหม่ จะเกิดขึ้นได้ 2 ทางคือ
               1.1 ภายในองค์กร ได้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กร คือฝ่ายดำเนินงาน ฝ่ายบริหาร ฝ่ายการตลาด ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบุคคล และฝ่ายวิศวกร
               1.2 ภายนอกองค์กร ซึ่งอาจเป็นหน่วยงานโฆษณา หรือจากลูกค้า จากกฎระเบียบข้อบังคับของรัฐบาลก็ได้

ขั้นตอนการริเริ่มความคิดนี้ จะได้รับอิทธิพลจากปัจจัย 3 อย่างคือ
               (1) ลักษณะการดำเนินงานของกิจการ
               (2) ความเป็นผู้นำด้านการแข่งขันที่สำคัญของกิจการนั้น หรือความได้เปรียบจากการแข่งขันของกิจการ
               (3) จุดมุ่งหมายของกิจการ

               ดังนั้น ในการผลิตหลอดไฟฟ้าของกิจการ แนวความคิดในการผลิตจะเริ่มมาจากฝ่ายวิศวกรหรือฝ่ายบริหารก่อน โดยที่กิจการอาจตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นผู้ผลิตหลอดไฟฟ้าที่มีความเชื่อถือสูง ประหยัดไฟ ฝ่ายวิจัยและพัฒนารวมทั้งฝ่ายการตลาดหาแนวทางเพื่อจะเสริมความคิดให้ได้หลอดไฟที่ดี เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น

          2. ขั้นกลั่นกรองความคิด กิจการจะมีคำถามเกี่ยวกับหลอดไฟเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น และเพื่อสกัดความคิดที่ไม่ดีทิ้งไป เก็บแต่ความคิดที่ดีของหลอดไฟ เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนต่อไป แนวความคิดต่าง ๆ นี้ได้แก่               
               2.1 ได้ระบุถึงปัญหาของหลอดไฟหรือยัง?
               2.2 มีผู้ผลิตไว้แล้วหรือยัง?
               2.3 วัตถุดิบที่ใช้เป็นอย่างไร? มีวัตถุดิบอื่นๆใช้ทดแทนได้หรือไม่?
               2.4 รูปร่างดีหรือยัง? การทำงานเป็นอย่างไร?

          3. การวิเคราะห์ทางธุรกิจ เมื่อผ่านจากขั้นตอนการกลั่นกรงความคิดมาแล้ว ขั้นนี้จะเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะจะเป็นการดูว่าสินค้าหรือบริการที่ผ่านมาขั้นที่ 2 มาแล้วนั้น จะมีจุดคุ้มทุนเป็นจำนวนเท่าใด ที่จุดคุ้มทุนนี้ จะเป็นจุดที่มีปริมาณการขายที่ต่ำที่สุด ที่หักค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ออกแล้วอาจอยู่ในรูปของจำนวนหน่วยหรือจำนวนบาทก็ได้

          4. การวิจัยและพัฒนา ขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับการออกแบบสินค้าและสร้างสินค้าชิ้นแรก (prototype) ขึ้นมา โดยการออกแบบสินค้าจะพัฒนามาจากแนวความคิดที่ได้จากขั้นที่แล้วมาประกอบกัน เมื่อการออกแบบและการสร้างสินค้าชิ้นแรกสำเร็จ ก็ต้องการตรวจสอบในเรื่องของการปฏิบัติงาน ต้นทุน คุณภาพของสินค้า เพื่อให้เกิดการประหยัดและมีประสิทธิภาพที่สุด

          5. การทดสอบ เมื่อได้มีการผลิตสินค้าออกมาแล้ว ต่อไปจะเป็นการทดสอบสินค้านั้นในเรื่องการปฏิบัติงาน ซึ่งหากปฏิบัติงานไม่ได้ นั่นคือสินค้าชิ้นนั้นล้มเหลว และต้องผลิตขึ้นมาใหม่ ในการทดสอบมีข้อที่ควรพิจารณาคือ

               5.1 ความเข้ากันได้กับสิ่งอื่น (compatibility) คือทุก ๆ ส่วนที่ประกอบกันขึ้นเป็นสินค้านั้นจะต้องทำงานเข้ากันได้ด้วยดี
               5.2 ความง่าย (simplification) หมายถึงความง่ายในการใช้ ทั้งความเข้ากันได้กับความง่ายนี้อาจจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าช่วยเพื่อให้แสดงการปฏิบัติงานทางจอภาพ
               5.3 ความเชื่อถือ (reliability) หมายถึงว่าสินค้านั้นสามารถทำหน้าที่ได้ภายในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งแสดงว่าได้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ในการสร้างความเชื่อถือจะมีวิธีการ และการคำนึงถึงค่าเสียหายที่อาจเกิดในกรณีที่สินค้าไม่ได้คุณภาพ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

          6. การนำออกสู่ตลาด ขั้นตอนนี้จะเกี่ยวข้องกับฝ่ายตลาด ฝ่ายขาย เพื่อนำสินค้ากระจายไปยังตลาดผู้ซื้อ จากการศึกษาพบว่าสินค้าที่ออกสู่ตลาด 1 อย่างนั้น มาจากแนวความคิดถึง 60 แนวความคิด จะเห็นได้ว่าเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากกว่าจะได้สินค้าที่ออกสู่ตลาดได้ และสินค้านั้นก็ไม่แน่ว่าจะมีอนาคตอย่างไร จะสู้คู่แข่งได้หรือไม่

สรุปขั้นตอนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่
                   1. การค้นหาและริเริ่มแนวความคิดใหม่
                   2. การกลั่นกรอง
                   3. การวิเคราะห์ทางธุรกิจ
                   4. การวิจัยและพัฒนา
                   5. การทดสอบผลิตภัณฑ์                                           
                   6. การนำสินค้าออกสู่ตลาด

สรุป
                   
          การวางแผนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับการผลิต การตัดสินใจเกี่ยวกับระบบการผลิต และการออกแบบระบบการผลิต การเลือกใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์และวิธีการดำเนินงาน ตามวัตถุประสงค์ขององค์การนั้น การออกแบบผลิตภัณฑ์จะหมายรวมถึงการปรับปรุงแบบใหม่ ๆ ให้กับผลิตภัณฑ์ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ใหม่และผลิตภัณฑ์เก่าด้วย

ความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีสาเหตุมาจาก
               (1) วัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์มีช่วงเวลาที่สั้นลงซึ่งวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ มีด้วยกัน 4 ขั้นตอน คือ ขั้นแนะนำสินค้า ขั้นยอดขายเจริญเติบโต ขั้นยอดขายอิ่มตัว ขั้นยอดขายลดลง
               (2) ความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไป
               (3) สภาพเศรษฐกิจ
               (4) สภาพแวดล้อม

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ควรคำนึงถึง
               (1) ระบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์
               (2) การจัดองค์การสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ประเด็นสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เน้น การออกแบบด้านความแข็งแรง การแข่งขันโดยใช้เวลาเป็นพื้นฐาน การออกแบบให้เป็นมาตรฐาน การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การวิเคราะห์คุณค่า การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ด้วยคุณค่า

          ขั้นตอนที่สำคัญการวางแผนผลิตภัณฑ์คือการหาความคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ การกลั่นกรองความคิดโดยเลือกแต่ความคิดที่ดี มีความเป็นไปได้ จากนั้นจะมีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ มีการทดสอบผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และการจำหน่ายทั่วไป จากนั้นจะเป็นการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย

การพัฒนาผลิตภัณฑ์

   การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (product development) เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมสำหรับตลาดปัจจุบันด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่โดยปรับปรุงให้ใหญ่ขึ้น ทำให้เล็กลงเปลี่ยนแปลง รวมหรือแยกลักษณะต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ สร้างคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้แตกต่างจากคู่แข่งขันเพิ่มรูปแบบและขนาดผลิตภัณฑ์ซึ่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จะต้องมีการศึกษาความต้องการของผู้บริโภคเป็นสำคัญ

          1. ระบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ระบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (product development system) กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิผลนั้นจะสัมพันธ์กับการตัดสินใจด้านผลิตภัณฑ์ กระแสเงินสด ตลาดที่เปลี่ยนไป วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ และขีดความสามารถขององค์การ บริษัทต้องมีเงินสดสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เข้าใจการเปลี่ยนแปลงว่าจะต้องเกิดขึ้นในตลาดต้องมีความรู้ความสามารถ และมีทรัพยากรอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ระบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาจได้รับการตัดสินใจอย่างดี ซึ่งไม่ใช่มุ่งเพียงผลิตผลิตภัณฑ์ได้เท่านั้น  แต่ยังต้องคำนึงถึงอนาคตของบริษัทด้วย

          2. การจัดองค์การสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดองค์การสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (organizing for product development) จะมีวิธีปฏิบัติการต่าง ๆ ดังนี้

               วิธีที่ 1 เป็นวิธีการของสหรัฐอเมริกา ที่ปฏิบัติกันมาเพื่อทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยทำการพัฒนาที่แผนกและที่ความแตกต่างกันขององค์การ แผนกเหล่านี้จะเริ่มด้วยการให้แผนกวิจัยและพัฒนาทำงานวิจัยที่จำเป็นจากนั้นวิศวกรของแผนกจะออกแบบผลิตภัณฑ์ แล้วส่งต่อให้วิศวกรฝ่ายผลิตทำการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้สามารถผลิตได้และขั้นสุดท้ายแผนกการผลิตจะผลิตผลิตภัณฑ์ออกมา ข้อดีของวิธีนี้คือ เป็นการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ แต่มีข้อเสียคือ การขาดความคิดที่ก้าวหน้า และคำถามที่น่าสนใจก็คือ ทำอย่างไรแนวความคิดการพัฒนาในแต่ละลำดับขั้นนั้นมีความสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ
               วิธีที่ 2 เป็นวิธีที่นิยมอย่างแพร่หลาย คือ มอบหมายให้ผู้จัดการฝ่ายผลิต ทำการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ดีสุด ที่ผ่านระบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์มาแล้วและองค์การสามารถผลิตได้
               วิธีที่ 3 อาจเป็นวิธีที่ดีที่สุด คือการใช้ทีมหรือคณะทำงานเช่น ทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทีมออกแบบสำหรับการผลิต ทีมวิศวกรรมคุณค่า การเชื่อมโยงทีมด้วยการไม่แบ่งองค์การออกเป็นแผนกย่อย ๆ เช่น แผนกวิจัยและพัฒนา แผนกวิศวกรรม แผนกการผลิต และอื่น ๆ ด้วยรูปแบบของกลุ่มและทีมงานในแบบของญี่ปุ่น กิจกรรมเหล่านี้จะรวมเป็นหนึ่งในองค์การ รูปแบบการบริหารจะมีความเป็นมิตรและองค์การจะมีโครงสร้างน้อยเพื่อความจำเป็นด้านการติดต่อสื่อสารและประสานงาน
               2.1  ทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ (product development teams) เป็นทีมซึ่งรับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงความต้องการจากตลาด เพื่อทำให้บรรลุผลสำเร็จด้านผลิตภัณฑ์ (Heizer and Render. 1999 p. 202) ทีมเช่นนี้มักประกอบด้วยตัวแทนจากฝ่ายการตลาด ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายประกันคุณภาพ และบุคลากรบริการภาคสนาม โดยทั่วไปแล้วทีมจะประกอบด้วยตัวแทนขาย เนื่องจากจุดประสงค์ของทีมประเภทนี้คือ เพื่อทำสินค้าและบริการให้ประสบความสำเร็จซึ่งรวมถึงความสามารถทางการตลาด (marketability) ความสามารถทางการผลิต (manufacturability) และความสามารถด้านการบริการ (serviceability)
               2.2 การใช้งานวิศวกรรม (concurrent engineering) เป็นกิจกรรมซึ่งช่วงปรับปรุงการออกแบบผลิตภัณฑ์การผลิต ความสามารถในการรักษาและใช้งาน (Heizer and Render. 1999 : 202) หรือเป็นการเชื่อมโยงวิศวกรรมกับกระบวนการผลิตและสินค้าเข้าด้วยกันทำให้การผลิตสินค้าทั้งหลายสามารถสอดคล้องกับสมรรถภาพในการผลิตมากยิ่งขึ้น และยังเป็นทีมที่ร่วมกันออกแบบและร่วมทำกิจกรรมด้านวิศวกรรมด้วย การใช้ทีมจะมีตัวแทนจากหน้าที่ต่าง ๆ ทั้งหมด หรือเรียกว่าทีมข้ามหน้าที่ (cross - functional team) ทีมชนิดนี้จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างรวดเร็วกว่า

ประเด็นสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์

          ประเด็นสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Issue for product development) การพัฒนาระบบที่มีประสิทธิผลและโครงสร้างองค์การสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีเทคนิคและรายละเอียดที่สำคัญคือ การออกแบบด้านความแข็งแรง การแข่งขันโดยใช้เวลาเป็นพื้นฐาน การออกแบบให้เป็นมาตรฐาน การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การวิเคราะห์คุณค่า การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ด้วยคุณค่า

          1. การออกแบบด้านความแข็งแรง การออกแบบด้านความแข็งแรง (robust design) เป็นการออกแบบซึ่งสามารถผลิตสินค้าเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการได้ ถึงแม้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการออกแบบจะการแปรเปลี่ยนไปเล็กน้อยในการผลิตหรือการประกอบชิ้นส่วนก็ไม่มีผลต่อผลิตภัณฑ์ เช่น บริษัท AT&T พัฒนาด้วยการประสมประสานวงจรซึ่งสามารถใช้ในการผลิตจำนวนมากเพื่อสร้างสัญญาณเสียง ถึงแม้ว่าเริ่มแรกของการออกแบบ วงจรจะได้รับการผลิตอย่างดีเลิศ เพื่อป้องกันการแปรเปลี่ยนในสัญญาณ วงจรเช่นนี้เป็นสิ่งที่มีคุณค่าเนื่องจากสามารถควบคุมคุณภาพระหว่างกระบวนการผลิต อย่างไรก็ตามหลังจากทดสอบและวิเคราะห์แล้ววิศวกรของ บริษัท AT&T ตระหนักว่าถ้าลดความต้านทานของวงจรลง (เปลี่ยนเล็กน้อย) วงจรจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในการผลิตน้อยมาก แต่ทำให้สามารถปรับปรุงคุณภาพได้ 40%
          2. การแข่งขันโดยใช้เวลาเป็นพื้นฐาน การแข่งขันโดยใช้เวลาเป็นพื้นฐาน (time-based competition) เป็นการแข่งขันพื้นฐานขึ้นอยู่กับเวลาอาจทำด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างรวดเร็ว และนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด หรือการจัดส่งสินค้าหรือบริการอย่างรวดเร็วด้วยเหตุนี้จะทำให้วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์จะสั้นลงซึ่งทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น เพราะว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่รวดเร็วโดยกระทำอย่างต่อเนื่องจะเป็นการเพิ่มผลประโยชน์ให้กับผู้พัฒนาอย่างช้า ๆ จะสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน บริษัทแรกที่เข้าสู่การผลิต อาจมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับสำหรับการใช้อย่างหลากหลาย เมื่อมีการขายเป็นเวลาหลายปีอาจกลายเป็นมาตรฐาน จึงต้องมีการนำผลิตภัณฑ์สู่ตลาดด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างดีหรือกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เมื่อเป็นเช่นนั้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์สู่ตลาดอย่างรวดเร็วอาจเป็นการบริหารที่ดี เพราะว่าการแข่งขันจะอยู่จนกระทั่งเริ่มนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันหรือปรับปรุงรุ่นใหม่ ซึ่งผลิตภัณฑ์อาจมีราคาสูงพอที่จะมีกำไร
          3. การออกแบบให้เป็นมาตรฐาน การออกแบบให้เป็นมาตรฐาน (modular design) เป็นชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ ทำให้ง่ายต่อการสับเปลี่ยนหรือแทนที่ (Heizer and Render. 1999 p. 204) ซึ่งเป็นการออกแบบเพื่อนำเสนอความยืดหยุ่นสู่ทั้งการผลิตและการตลาด แผนกการผลิตจะพบว่าชิ้นส่วนเล็ก ๆ เหล่านี้ (modular) มีประโยชน์เพราะว่าทำให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิต และสับเปลี่ยนได้ง่ายกว่า ยิ่งกว่านั้นตลาดอาจชอบวิธีการออกแบบเช่นนี้ เพราะสามารถเพิ่มความยืดหยุ่นที่จะทำให้ลูกค้าพอใจ ลูกค้าอาจผสมและจัดให้เหมาะสมกับรสนิยมของตนเอง ความคิดนี้ได้ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมจำนวนมาก ตั้งแต่อุตสาหกรรมการบินสู่ร้านอาหารแบบจานด่วน (fast-food)

          4. การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย Computer-Aided Design--CAD เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยพัฒนา ออกแบบ และจัดสร้างเอกสารสำคัญด้านผลิตภัณฑ์ (Heizer and Render. 1999 p. 205) ในปัจจุบันมีการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ได้รับการพัฒนาด้วยการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAD) ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มพูนความเร็ว และสามารถประสมประสานการออกแบบผลิตภัณฑ์ เมื่อใช้การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAD) วิศวกรออกแบบจะเริ่มโดยพัฒนาโครงร่างความคิดแล้วผู้ออกแบบ จะใช้การแสดงด้วยภาพ เพื่อสร้างการออกแบบโครงสร้างทางเรขาคณิต ซึ่งการออกแบบด้วยความชำนาญจากระบบการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAD) จะช่วยให้ผู้ออกแบบสามารถตัดสินใจข้อมูลวิศวกรรมได้หลากหลายชนิด และจะมีการวิเคราะห์ความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์และประหยัด ประโยชน์ของการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAD) มีดังนี้
               4.1 ช่วยลดเวลาในการออกแบบ
               4.2 จะมีการเก็บข้อมูลเก่าเอาไว้ออกแบบสินค้าใหม่ก็จะสามารถนำมาใช้ได้โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด
               4.3 ช่วยให้คุณภาพสินค้าดีขึ้น เพราะสามารถคำนวณได้อย่างแม่นยำ เช่นสามารถวัดความหนาแน่นของเรือได้แม่นยำทำให้อันตรายทีเกิดจากการที่เรือจมมีน้อยมากหรือไม่มีเลย
               4.4 ลดค่าใช้จ่าย 

          5. การวิเคราะห์คุณค่า การวิเคราะห์คุณค่า (value analysis) เป็นการทบทวนความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิต เพื่อให้เกิดการปรับปรุงซึ่งจะนำไปสู่ทั้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่าและประหยัดกว่า เทคนิคและข้อได้เปรียบสำหรับการวิเคราะห์คุณค่าจะเหมือนกับวิศวกรรมคุณค่า ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในการปฏิบัติการ ก็อาจเป็นสิ่งจำเป็นเพราะการวิเคราะห์คุณค่าจะเกิดขณะที่ผลิตภัณฑ์กำลังผลิต

          6. การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ด้วยคุณค่า การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ด้วยคุณค่า (product-by-value analysis) เป็นรายการของผลิตภัณฑ์การสืบทอดด้วยการสั่งซื้อในผลิตภัณฑ์แต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะรวมถึงการเพิ่มกระแสเงินสด (เช่น เพิ่มการช่วยเหลือโดยการเพิ่มราคาหรือต้นทุนที่ต่ำลง) เพิ่มตลาด (ปรับปรุงคุณภาพ และ/หรือลดต้นทุนหรือราคา) หรือลดต้นทุน (ปรับปรุงกระบวนการผลิต) การวิเคราะห์ของผลิตภัณฑ์แต่ละรายการจะช่วยให้ฝ่ายบริหารทราบว่าผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายดี ผลิตภัณฑ์ใดล้มเหลวไม่ควรที่จะลงทุนต่อไป เพื่อให้ผู้บริหารนำไปกำหนดทิศทางกลยุทธ์สำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์